รถปั๊มคอนกรีตคืออะไร (PUMP CONCRETE) T.084-2492355
สนใจเช่ารถปั๊มคอนกรีต รถปั๊มบูม รถปั๊มลาก ปั๊มโมลี ไลน์ปั๊ม
มีบริการทุกพื้นที่ สินค้าคุณภาพ ราคากันเอง เน้นงานบริการ
ราคาค่าเช่ารถปั๊มคอนกรีต บริการเช่ารถปั๊มคอนกรีต
เจ้าหน้าที่เข้าดูหน้างานก่อนวันใช่งานเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของการใช้รถปั๊มคอนกรีต
*******************************
ปั๊มคอนกรีต (PUMP CONCRETE ) คืออะไร
ปั๊มคอนกรีต คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการลำเลียงคอนกรีตชนิดหนึ่ง ในปัจจุบันปั๊มคอนกรีตได้เข้ามามีบทบาทในการลำเลียงคอนกรีต โดยเข้ามาทดแทนรถเข็น ,ลิฟท์ , ทาวเวอร์เครน , สายพานลำเลียงและวิธีการลำเลียงอื่น ๆ ทั้งนี้ เนื่องจากปั๊มคอนกรีตสามารถตอบสนองความต้องการในการเทคอนกรีตในที่สูงหรือใน ที่ที่มีอุปสรรค ยากต่อการเทคอนกรีตโดยวิธีอื่น รวมทั้งยังให้ความสะดวกรวดเร็วในการเทคอนกรีตเมื่อเทียบกับวิธีอื่นด้วย
วิวัฒนาการของปั๊มคอนกรีต
แนวความคิดเกี่ยวกับลำเลียงคอนกรีต ผ่านท่อโดยอาศัยลูกสูบ ไปยังสถานที่ที่ต้องการเทคอนกรีต เริ่มมีขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2473 และแนวความคิดนี้ได้เกิดขึ้นจริงในปี พ.ศ.2476 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้มีการใช้ปั๊มคอนกรีตในการลำเลียงคอนกรีต สำหรับการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำ มิสซิสซิปปี้ ที่เมืองมินิโซต้า
หลังจากปี พ.ศ.2476 ถึงช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (ปี พ.ศ.2484)ได้มีการใช้ปั๊มคอนกรีตในการก่อสร้างบ้าง แต่ยังไม่เป็นที่นิยมเพราะท่อที่ใช้มีขนาดใหญ่ คือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-8 นิ้ว ทำให้มีน้ำหนักมาก ยากต่อการเคลื่อนย้าย,
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ปี พ.ศ.2488) ในยุโรป ปั๊มคอนกรีตได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการบูรณะประเทศ แต่ในสหรัฐอเมริกา ปั๊มคอนกรีตกลับไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากวิธีการและเทคนิคต่าง ๆ ในการปั๊มคอนกรีตยังไม่แน่นอน และยังคงใช้วิธีลองผิดลองถูกอยู่
ในปี พ.ศ.2500 ได้มีการนำปั๊มคอนกรีตแบบ 2 ลูกสูบ ซึ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นมาใช้งาน หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาปั๊มคอนกรีตมาเป็นลำดับ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2508 ได้มีปั๊มคอนกรีตแบบติดตั้งบนรถมาใช้งานเป็นเครื่องแรก
ภายหลังปี พ.ศ.2513 ปั๊มคอนกรีตได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพราะท่อขนส่งคอนกรีตได้ถูกพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง คือมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้ว ทำให้สะดวกในการเคลื่อนย้าย และยังมีการพัฒนาปั๊มคอนกรีตแบบติดตั้งบนรถให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำให้ทำงานได้สะดวก ไม่ต้องติดตั้งท่อบ่อย ๆ อีกทั้งการเคลื่อนย้ายก็ทำได้ง่ายอีกด้วย
จนกระทั่งปี พ.ศ.2525 ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ประเทศเยอรมันใช้ปั๊มคอนกรีตสำหรับลำเลียงคอนกรีต ประมาณ 50 % ของการใช้คอนกรีตในงานก่อสร้างทั้งหมด
ปั๊มคอนกรีตเริ่มเข้า มามีบทบาทในประเทศในปี พ.ศ.2522 โดยมีการนำปั๊มคอนกรีตเข้ามาใช้ในงานก่อสร้างขนาดใหญ่ เช่น งานสร้างเขื่อน แต่ในช่วงนั้นยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก ทั้งนี้เพราะราคาของปั๊มคอนกรีตและค่าใช้จ่ายในการปั๊มสูง รวมทั้งขาดผู้ชำนาญ ในการปั๊มคอนกรีตด้วย
ในปี พ.ศ.2522 ประเทศไทยมีปั๊มคอนกรีตอยู่เพียง 16 เครื่อง เป็นแบบติดตั้งติดตั้งบนรถบรรทุก (TRUCK MOUNTED CONCRETE PUMP) 7 เครื่องที่เหลือเป็นแบบติดตั้งอยู่กับที่ (STATIONARY CONCRETE PUMP) ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นของผู้รับเหมารายใหญ่เท่านั้น
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 เป็นต้นมา ปั๊มคอนกรีตได้ถูกใช้ในงานก่อสร้างมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการก่อสร้างอาคารสูง ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยหลายประการ เช่น
- ได้มีการพัฒนาส่วนผสมคอนกรีตให้เหมาะกับงานปั๊มคอนกรีตมากขึ้น
- มีการนำน้ำยาผสมคอนกรีตที่ช่วยทำให้คอนกรีตลื่น และคอนกรีตแข็งตัวช้ามาใช้ ทำให้สะดวกมากขึ้นในการใช้ปั๊ม
- มีผู้ชำนาญในการใช้ปั๊มคอนกรีตมากขึ้น
- ความต้องการให้การก่อสร้างเสร็จภายในระยะเวลาอันสั้น
- อัตราค่าแรงสูงมากขึ้นรวมทั้งบุคลากรหายากขึ้น
จากข้อมูลปี พ.ศ.2532 พบว่า 10-15% ของคอนกรีตผสมเสร็จที่ใช้ในเขต กรุงเทพมหานคร ถูกลำเลียงผ่านปั๊มคอนกรีต
ประเภทของปั๊มคอนกรีต
ปั๊มลาก (Trailer Pump)
ปั๊มคอนกรีตประเภทนี้ ตัวปั๊มและท่อส่งจะถูกแยกออกจากกัน ตัวปั๊มติดตั้งอยู่บนล้อเลื่อน เมื่อต้องการใช้งานรถบรรทุกจะพ่วงตัวปั๊มนี้ไป สู่หน้างานก่อสร้างหลังจากนั้นจะติดตั้งท่อและอุปกรณ์เข้ากับปั๊ม ปั๊มคอนกรีตแบบนี้มีแรงดันสูงมาก สามารถปั๊มคอนกรีตไปยังที่สูง ๆ ได้ รวมทั้งพื้นที่ในการติดตั้งน้อย แต่ต้องเสียเวลาในการติดตั้งท่อ และการเคลื่อนย้ายปั๊มทำได้ลำบาก
ปั๊มโมลี / ไลน์ปั๊ม (Moli Pump / Line Pump)
ปั๊มคอนกรีตชนิดนี้ คือการนำเอาปั๊มลากมาดัดแปลง และนำไปติดตั้งอยู่บนรถบรรทุก 6 ล้อ หรือ 10 ล้อ โดยมีจุดบรรทุกไว้วางท่อส่งคอนกรีตและอุปกรณ์เครื่องมือการทำงานต่าง ๆ เพื่อสะดวกในการเดินทาง
ปั๊มบูม (Boom Pump)
ปั๊มคอนกรีตแบบนี้ทั้งตัวปั๊มและท่อ ส่ง จะถูกติดตั้งอย่างถาวรบนรถบรรทุก โดยมีการออกแบบให้สามารถพับเก็บบูมได้ ทำให้สะดวกรวดเร็วในการใช้งาน เคลื่อนย้ายได้สะดวก และทำความสะอาดหลังการใช้งานได้ง่าย อย่างไรก็ตามระยะทางที่จะปั๊มคอนกรีตจะถูกจำกัดโดยความยาวของบูม ตามขนาดต่าง ๆ
ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ปั๊มคอนกรีต
- ความรวดเร็วในการเทคอนกรีต ผู้รับเหมาสามารถเลือกขนาดและจำนวนปั๊มให้เหมาะสมกับลักษณะงานได้ ในขณะที่ถ้าใช้วิธีการอื่น เช่นการใช้ทาวเวอร์เครนหรือลิฟท์ อัตราการเทคอนกรีตจะถูกจำกัดด้วยทาวเวอร์เครนหรือลิฟท์
- ความสะดวกในการเท สามารถวางตัวปั๊มไว้บริเวณที่รถคอนกรีตผสมเสร็จเข้าได้สะดวกและต่อท่อไปยัง บริเวณที่จะเทคอนกรีต ทำให้สามารถทำงานได้สะดวก
- การตกแต่งผิวคอนกรีตจะสิ้นเปลือง น้อย เนื่องจากคอนกรีตที่สามารถใช้ได้กับปั๊มคอนกรีตนั้น จะต้องมีส่วนผสมของทรายละเอียดอยู่จำนวนหนึ่ง จึงทำให้ผิวของคอนกรีตที่เทโดยปั๊มคอนกรีตนั้นค่อนข้างเรียบ และไม่สิ้นเปลืองในการฉาบผิวหลังจากการถอดแบบแล้ว
- ค่าแรงงานในการเทจะน้อยลง ทั้งนี้เนื่องจากการเทคอนกรีตโดยใช้ปั๊มคอนกรีต จะใช้คนน้อยกว่าการเทคอนกรีต โดยวิธีอื่น ๆ และยังสามารถเทได้ในเวลาที่รวดเร็วกว่าอีกด้วย เป็นผลให้ค่าแรงงานในการเทน้อยลง
- ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งหมด จะลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานที่รวดเร็วของปั๊มคอนกรีต ทำให้ระยะเวลาที่ใช้ในการก่อสร้างทั้งหมดลดลง ผู้รับเหมาก่อสร้างจะได้รับค่าจ้างเร็วขึ้น ลดดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะต้องเสียไป สามารถรับงานได้มากขึ้นในระยะเวลาเดียวกัน
- คุณภาพของคอนกรีตในโครงสร้างดี ซึ่งเป็นผลมาจากคอนกรีตที่เทในแบบมีความต่อเนื่องสม่ำเสมอและรวดเร็ว
เมื่อไรควรใช้ปั๊มคอนกรีต
การนำปั๊มคอนกรีตไปใช้งาน ควรใช้ปั๊มคอนกรีตกับสถานการณ์ดังต่อไปนี้
- การขาดแคลนแรงงาน
- เวลาก่อสร้างมีจำกัด
- การเทคอนกรีตจำนวนมาก
- สถานที่เทคอนกรีต ยากต่อการลำเลียงคอนกรีตโดยวิธีอื่น
- มีการจัดส่งคอนกรีตอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ
- คนงานมีความรู้ ประสบการณ์และมีการวางแผนงานที่ดี
คอนกรีตสำหรับงานปั๊มคอนกรีต
ส่วนผสมของ คอนกรีตเป็นองค์ประกอบสำคัญ ในการลำเลียงคอนกรีตโดยใช้ปั๊มคอนกรีต เราจะมาพิจารณาส่วนผสมของคอนกรีตที่เหมาะสมสำหรับงานปั๊มคอนกรีต
ส่วนผสมของคอนกรีตแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นของแข็ง ได้แก่ หิน, ทราย, ซีเมนต์,และส่วนที่เป็นของเหลวคือ น้ำ ซึ่งในส่วนผสมที่กล่าวนี้ น้ำเป็นส่วนผสมเดียวที่สามารถปั๊มได้ แต่เมื่อนำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมเป็นคอนกรีต เนื้อคอนกรีตจะสามารถปั๊มได้เมื่อส่วนผสมถูกนำมาผสมกัน ด้วยอัตราส่วนที่พอเหมาะ โดยที่น้ำเป็นตัวส่งผ่านแรงดันไปยังส่วนผสมอื่น ๆ
คุณสมบัติของคอนกรีตที่จะสามารถปั๊มได้
- ต้องมีความเหลวที่เหมาะสม คอนกรีตที่เหมาะสมสำหรับนำไปปั๊ม ควรจะมีค่ายุบตัวอยู่ระหว่าง 7.5-12.5 ซม. ถ้าค่า ยุบตัวน้อยเกินไปคอนกรีตจะปั๊มยาก และต้องใช้แรงดันสูงมาก ซึ่งจะเกิดผลเสียคือท่อสึกหรอเร็ว และปั๊มเสียได้ง่าย ถ้าค่ายุบตัวมากเกินไป คอนกรีตมีแนวโน้มที่จะเกิดการแยกตัว
- ต้องมีปริมาณส่วนละเอียดเพียงพอ ส่วนละเอียดในที่นี้หมายถึง ทรายและปูนซีเมนต์ จะต้องมีมากพอที่จะไปอุดช่องว่าง ระหว่างหิน เพื่อให้เนื้อคอนกรีตมีแรงต้านภายในพอที่จะไม่ก่อให้เกิดการแยกตัว
ส่วนผสมคอนกรีตที่ทำให้ปั๊มได้ง่าย
ในการออกแบบส่วนผสมของคอนกรีตทั่ว ๆ ไป เราจะพิจารณาเพียงให้ได้ค่ากำลังอัด ค่ายุบตัวตามต้องการ และสามารถทำงานได้เท่านั้น แต่การออกแบบส่วนผสมคอนกรีตในงานปั๊มคอนกรีตนั้น ต้องแบบให้สามารถเคลื่อนที่ผ่านท่อส่งคอนกรีตได้ง่าย โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญที่จะต้องพิจารณาถึงดังนี้
- หินและทราย จะต้องมีส่วนคละที่ดี ถูกต้องตามมาตราฐาน ASTM C 33
- ค่ายุบตัวควรอยู่ระหว่าง 7.5 - 12.5 เซนติเมตร
- ควรมีส่วนละเอียด ซึ่งได้แก่ปูนซีเมนต์ และทรายเพียงพอที่จะอุดช่องว่าง โดยปริมาณปูนซีเมนต์ ต้องไม่น้อยกว่า 300 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร
- ควรมีทรายที่ผ่านตะแกรงมาตราฐาน # 50 10 - 30 %
- ขนาดโตสุดของหินไม่ควรเกิน 1 / 5 ของเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อ
- ต้องใช้มอร์ต้าอัตราส่วน ซีเมนต์ : ทราย = 1 : 2 แล้วปั้ม เพื่อไปเคลือบท่อก่อนการปั้มคอนกรีตทุกครั้ง
- ต้องใส่น้ำยาผสมคอนกรีตประเภทยืดเวลาการแข็งตัวทุกครั้งที่ใช้ปั้มคอนกรีต
น้ำยาผสมคอนกรีตสำหรับงานปั๊มคอนกรีต
น้ำยาผสมคอนกรีตใช้สำหรับงานปั๊มคอนกรีตนี้จะแตกต่างกันไปตามสภาพภูมิอากาศ ในประเทศไทย น้ำยาผสมคอนกรีตที่เหมาะสมสำหรับงานปั๊มคอนกรีตคือ น้ำยาประเภทลดน้ำและยืดเวลาการแข็งตัว ซึ่งน้ำยาประเภทนี้มีประโยชน์คือ
- ยืดเวลาการแข็งตัวของคอนกรีต ทำให้สามารถทำงานได้นานกว่าคอนกรีตที่ไม่ได้ใส่น้ำยา และในกรณีที่มีปัญหา ก็มีเวลาแก้ไขก่อนที่คอนกรีตจะแข็งตัวในปั๊มหรือท่อส่งคอนกรีต
- ทำให้คอนกรีตลื่น สามารถเคลื่อนที่ในท่อส่งคอนกรีตได้สะดวก
- ทำให้คอนกรีตเหลวอยู่เป็นเวลานาน สะดวกในการปั๊ม
นอกจากน้ำยาประเภทลดน้ำ และยืดเวลาการแข็งตัวแล้ว ยังมีน้ำยาที่ช่วยให้ปั๊มคอนกรีตได้ง่าย (PUMPING AIDS) น้ำยาประเภทนี้เมื่อใส่ไปในคอนกรีตจะทำให้คอนกรีตลื่นไหลไปในท่อส่งคอนกรีต ได้สะดวก ทำให้ปั๊มคอนกรีตได้ง่าย ถึงแม้ว่าคอนกรีตที่ใช้จะมีปริมาณปูนซีเมนต์ไม่มากนัก แต่น้ำยาประเภทนี้ยังไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบันเพราะราคาแพง
ข้อควรปฎิบัติของผู้เกี่ยวข้องกับงานปั๊มคอนกรีต
ศูนย์จัดส่งคอนกรีต
- เมื่อต้องใช้ปั๊มคอนกรีตต้องระบุและสั่งคอนกรีตสำหรับใช้กับปั๊มคอนกรีต
- ต้องกำชับผู้ควบคุมเครื่องชั่งว่า คอนกรีตนั้นใช้กับปั๊มคอนกรีต และรู้ส่วนผสมที่ถูกต้อง
- ก่อนเริ่มจัดส่งคอนกรีตต้องตรวจสอบกับหน่วยงานก่อสร้างว่าติดตั้งปั๊มคอนกรีต และเดินท่อส่งคอนกรีตเรียบร้อยและพร้อมที่จะเทหรือยัง
- ต้องรู้จำนวนที่เทล่วงหน้า เพื่อเตรียมวัตถุดิบ
- จัดรถโม่ให้เพียงพอ เพื่อการจัดส่งได้ต่อเนื่อง
ผู้ควบคุมเครื่องชั่ง
- ต้องรู้ส่วนผสมสำหรับงานปั๊มคอนกรีต ซึ่งมักใช้ซีเมนต์และทรายมากกว่าปกติ
- ต้องมีวัตถุดิบเพียงพอ
- เพื่อให้คอนกรีตที่มีค่ายุบตัว และคุณภาพสม่ำเสมอ ต้องคอยสังเกตความชื้นของทรายเปลี่ยนไปหรือไม่ โดยต้องปรับอัตราส่วนผสมให้ถูกต้องตามสถานการณ์
- จำเป็นอย่างยิ่งที่อัตราส่วนผสมของทรายในคอนกรีตต้องถูกต้องอยู่เสมอ
- ต้องคอยบันทึกปริมาณน้ำที่ใส่ในคอนกรีตอยู่เสมอ เพื่อสังเกตความเปลี่ยนแปลงของสภาพ หิน ทราย
- ต้องสังเกตคอนกรีตทุกครั้ง หลังจากผสมเสร็จแล้วว่ามีค่ายุบตัว และความขันเหลวถูกต้อง
พนักงานขับรถโม่
- ควรผสมคอนกรีตให้เข้ากันทุกครั้งก่อนออกจากโรงงานคอนกรีต
- ต้องคอยสังเกตค่ายุบตัวของคอนกรีตก่อนคายออกจากโม่
- ต้องสำรวจทางเข้าเทคอนกรีตก่อนเข้าเทจริง ๆ และควรตรวจสอบว่ามีพื้นที่ให้รถโม่ 2 คันเข้าเทพร้อมกันหรือไม่
- ควรหมุนโม่ผสมคอนกรีตซ้ำ ๆ ก่อนคายคอนกรีตออกจากโม่ และระหว่างรอเทคอนกรีตให้หมุนโม่ช้า ๆ อยู่ตลอดเวลา
- พนักงานขับรถต้องแจ้งให้โรงงานคอนกรีตทราบถึงปัญหาที่หน้างาน รวมทั้งเรื่องคุณภาพคอนกรีตและอัตราการเทที่แท้จริง
- พนักงานขับรถต้องอยู่ที่รถโม่ตลอดเวลา
- เมื่อเทคอนกรีตเสร็จแล้ว ต้องเคลื่อนรถโม่ออกจากปั๊มโดยเร็ว เพื่อให้รถคันต่อไปเข้าเท
- ถ้าหากลูกค้าให้เติมน้ำที่หน่วยงาน ต้องให้ลูกค้าเซ็นรับผิดชอบในใบส่งสินค้า
พนักงานควบคุมปั๊มคอนกรีต
- มาถึงหน้างานก่อสร้างตรงตามเวลา หากมาไม่ทันต้องรีบแจ้งโรงงานคอนกรีตและผู้รับเหมาทราบ
- ตั้งปั๊มคอนกรีตให้ใกล้จุดที่จะ เทให้มากที่สุด โดยคำนึงถึงความเอื้ออำนวยของสถานที่และความสะดวกของรถโม่ที่จะเข้าเท ควรมีที่พอให้รถโม่เข้าเทได้ 2 คัน
- ในกรณีที่ใช้ปั๊มบูมต้องระวังสิ่งกีดขวางข้างบน โครงหลังคา นั่งร้านโดยเฉพาะสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์
- ต้องแน่ใจว่าติดตั้งท่ออย่างถูกต้องและมั่งคง โดยคำนึงถึงแรงกระแทกของท่อขนาดปั้ม
- เมื่อรถโม่มาถึง ต้องคอยช่วยโบกรถให้ถอยเข้า และต้องปิดตะแกรงเหนือ HOPPER ทุกครั้ง
- ก่อนรับคอนกรีต ต้องตรวจสอบว่า คอนกรีตผสมเข้ากันดีแล้ว หากต้องมีการแก้ไขต้องแจ้งให้ตัวแทนที่หน่วยงานทราบ
- ต้องแน่ใจว่าคนงานที่อยู่ปลายท่อรู้วิธีการทำงานที่ถูกต้อง
- ก่อนทำการย้ายปั๊มบูมต้องเอาบูมลงทุกครั้ง
- เมื่อเสร็จงานต้องทำความสะอาดปั๊มคอนกรีตและท่อส่งคอนกรีต
ข้อมูลจาก ศูนย์วิชาการคอนกรีตซีแพค http://www.cpacacademy.com/
************************
ค่าบริการเช่ารถปั๊มคอนกรีต,ราคาเช่ารถปั๊มคอนกรีต,บริการเช่ารถปั๊มคอนกรีต,รถปั๊มคอนกรีต, ปั๊มลาก, ปั๊มปูม, รถปั๊มคอนกรีต,บริการเช่ารถปั๊มคอนกรีต,รถปั๊มคอนกรีต, ปั๊มลาก, ปั๊มปูม, รถปั๊มคอนกรีต,
คอนกรีตผสมเสร็จ,คอนกรีตผสมเสร็จราคาถูก,ราคาคอนกรีตผสมเสร็จ,ปูนคอนกรีต,ปูนมิกซ์,ปูนผสมเสร็จ,คอนกรีตมิกซ์,ปูนตรานกอินทรี,คอนกรีตปูนตราช้าง,ปูนดอกบัว,ปูนพญานาค,ปูนทีพีไอ,คอนกรีตผสมเสร็จ,คอนกรีตผสมเสร็จราคาถูก,ราคาคอนกรีตผสมเสร็จ,ปูนคอนกรีต,ปูนมิกซ์,ปูนผสมเสร็จ,คอนกรีตมิกซ์,
คอนกรีตผสมเสร็จ,ราคาคอนกรีตผสมเสร็จ,คอนกรีตผสมเสร็จราคาถูก,จำหน่ายคอนกรีตผสมเสร็จ,ขายคอนกรีตผสมเสร็จ,คอนกรีตสำเร็จรูป,ราคาคอนกรีตสำเร็จรูป,คอนกรีตราคาถูก,ปูนผสมเสร็จ,ผลิตภัณฑ์คอนกรีต,คอนกรีตมิกซ์,ปูนมิกซ์,ปูนคอนกรีต,คอนกรีตปูนตราช้าง,คอนกรีตปูนนกอินทรี,ปูนดอกบัว,ปูนพญานาค,คอนกรีตคืออะไร,คอนกรีตผสมเสร็จคืออะไร,คอนกรีตหยาบ,ราคาคอนกรีตหยาบ,CONCRETE Ready Mixed,ชลประทานคอนกรีต,เอเชียผลิตภัณฑ์ซีเมนต์,ผลิตภัณฑ์คอนกรีต,กาญจนาคอนกรีต,ฟาสท์คอนกรีต,น่ำเฮงคอนกรีต,วีคอนกรีต,เอสวีคอนกรีต,พีโอซีคอนกรีต,นครหลวง,บอรอล,คอนกรีตตรานกอินทรี,ทีพีไอคอนกรีต,คอนกรีตปูนตราช้าง,คอนกรีตรถปูนโม่ใหญ่,คอนกรีตรถปูนโม่เล็ก,รถปั๊มคอนกรีตให้เช่า,รถปั๊มคอนกรีต,รถปั๊มบูม,รถปั๊มลากจูง,ราคาคอนกรีตหยาบ Lean,ราคาคอนกรีตผสมเสร็จ 180ksc,ราคาคอนกรีตผสมเสร็จ 210ksc,ราคาคอนกรีตผสมเสร็จ 240ksc,ราคาคอนกรีตผสมเสร็จ 280ksc,ราคาคอนกรีตผสมเสร็จ 300ksc,ราคาคอนกรีตผสมเสร็จ 320ksc,ราคาคอนกรีตผสมเสร็จ 350ksc,ราคาคอนกรีตผสมเสร็จ 380ksc,ราคาคอนกรีตผสมเสร็จ 400ksc,ราคาคอนกรีตผสมเสร็จ 450ksc,ราคาคอนกรีตผสมเสร็จ2566,2567
********************
สนใจติดต่อ ฝ่ายขาย ว่าที่ ร.ต. ธีรวัฒน์ 084-2492355
เวลาติดต่อ วันจันทร์-วันอาทิตย์ 7:59-16:59 น.