Net Design Shop : Ready Shopping site





สถิติคนเข้าชมเว็บไซต์



Member Login                  Search :             language    :   

 
ขั้นตอนการก่อสร้างโดยรวม
 

งานด้านโครงสร้าง
   

งานด้านโครงสร้างนี้จะเริ่มตั้งแต่ การทำโครงสร้างของฐานราก อัน ได้แก่การลงเสา เข็มและการหล่อ ตอม่อ เพื่อรองรับ โครงสร้าง ของเสาและคาน ที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่อง เป็นขั้น ตอนถัดไป หลังจากนั้น ก็จะเป็น งานโครงสร้าง ของ พื้นและบันได ซึ่งจะต้อง เชื่อมต่อกับ เสาและ คาน ที่ได้ทำไว้แล้ว โดยการทำพื้น จะต้องเริ่มทำจากชั้นล่างไล่ขึ้น ไปหาชั้นบน เพื่อ ความสะดวก ในการทำงาน และ การลำเลียงวัสดุ ต่อจากนั้น ก็จะเป็น งานโครงสร้าง ของ หลังคา ซึ่งในปัจจุบันส่วน ใหญ่มักจะทำเป็น โครงเหล็ก โดย เชื่อมต่อกับ เสาและคานชั้นบนสุด หลังจากการทำโครงหลังคา อันเป็น งานโครงสร้าง ส่วนสุดท้ายของ ตัวบ้าน แล้วก็มักจะต่อด้วย การมุงหลังคา เลยเพื่อทำ หน้าที่คุ้ม แดดคุ้มฝน ให้แก่ตัวบ้าน ซึ่งจะสร้างในลำดับถัดไป นอกจากนี้ ยังมีงานโครงสร้างของรั้วซึ่งอาจจะ ทำก่อน ทำภายหลัง หรือทำไปพร้อม ๆ กับงานโครงสร้างของตัวบ้าน ก็ได้แล้วแต่กำลังคนและ ความสะดวก เนื่องจากเป็นส่วนที่แยกจาก ตัวบ้าน แต่ถ้าเป็นบ้าน ที่มีเนื้อที่จำกัด จำเป็นต้องสร้างตัว บ้านให้ชิดกับรั้ว ก็มักจะทำรั้วภายหลัง เพื่อความสะดวก ใน การจัดวาง และ ลำเลียงวัสดุก่อสร้าง ในระหว่าง การก่อสร้างตัวบ้าน
ในขั้นตอนของ งานโครงสร้าง นี้มีข้อสังเกตบางอย่าง กล่าวคือ อาจมีงานหรือขั้นตอนอื่น ที่จะต้องทำหรือ เตรียมการใน ช่วงจังหวะนี้ ที่พบเห็นกันบ่อย และถือว่า เป็นสิ่งจำเป็น สำหรับบ้านทั่วไป นั่นคือ การฉีดยาป้องกันปลวก ไม่ว่า จะใช้ ระบบการวางท่อน้ำยา หรือใช้ ระบบการฉีดยา ให้ซึมลงไป ในดินโดยตรง จะต้องทำก่อนการทำพื้นชั้นล่างของตัวบ้าน โดยเฉพาะ ระบบการวางท่อน้ำยา ซึ่งจะ ต้องเดินท่อ โดยยึดกับคานคอดิน เพราะหลังจาก ทำพื้นชั้นล่างแล้ว จะไม่สามารถเดินท่อได้เลย ถ้าจะ คิดทำในภายหลัง จะทำได้อย่างมาก ก็เป็น การเจาะพื้นแล้ว ฉีดน้ำยาลงไป บนผิวดินด้างล่าง ซึ่งอาจก่อ ให้เกิดความเสียหาย ไม่สวยงาม และได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร อีกจุดหนึ่ง ที่ต้อง ระวังก็คือ การวางตำแหน่ง และ การเดินท่อประปา เนื่องจากในปัจจุบัน บ้านส่วนใหญ่ นิยม เดินท่อประปา ระบบฝังใต้พื้นเพื่อ ความสวยงาม ดังนั้นก่อน การเทพื้น จะต้องแน่ ใจว่า การวางแนวท่อ ต่างๆ ทำไว้อย่างเรียบร้อย และสอดคล้องกับ ตำแหน่งของก๊อกน้ำ ต่างๆที่ได้กำหนดไว้ หรือถ้าจะมี การเปลี่ยนแปลงแก้ไขอย่างไร ก็ต้องรีบทำในขั้นตอนนี้ ก่อนที่จะทำ การเทพื้น กลบแนวท่อ เพราะถ้าเกิดการผิดพลาดขึ้น การแก้ไขจะทำได้ลำบาก นอกจากนี้ ในขั้นตอนการมุงหลังคาก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ต้องเตรียมการในกรณีที่ต้องการ ติดตั้ง วัสดุป้องกันความร้อน ใต้กระเบื้องหลังคา ก็จะต้องกำหนดไว้ก่อน และทำไปพร้อม ๆ กับขั้นตอนของ การมุงหลังคาเลย
 

งานก่อสร้างตัวบ้าน
   

งานก่อสร้างตัวบ้านเป็นงานที่ต้องทำต่อเนื่องจากงานด้านโครงสร้าง งานหลักในส่วนนี้ได้แก่การ ก่อผนังและการติดตั้ง วงกบประตู หน้าต่าง ซึ่งจะต้องทำควบคู่กันไป เนื่องจากวงกบประตูหน้าต่าง และผนัง บ้านเป็นสิ่งที่ติดตั้ง เชื่อมต่อเข้า ด้วยกัน ซึ่งการทำผนังบ้าน ในขั้นตอนนี้ จะเป็นเพียงการก่ออิฐ ให้เป็นรูปเป็น ร่องก่อนเพื่อการติดตั้งวงกบ หลังจากทำการติดตั้ง วงกบเรียบร้อยแล้ว จึงทำการฉาบแต่งผนังไปพร้อม ๆ กับ การฉาบแต่งเสา และคาน ส่วนการติดตั้ง บานประต ูหน้าต่างอาจทำ การติดตั้งต่อเนื่องไปเลย หรืออาจจะค่อย ๆ ทยอยติดตั้ง หรืออาจ จะรอไปทำ ในช่วงหลังเลยก็ได้หากเกรงว่าจะก่อเกิดความไม่สะดวกในการลำเลียงวัสดุ หรือก่อให้เกิดปัญหาในการดูแลรักษา
ในกรณีของบ้านที่มีการเดินท่อน้ำ และสายไฟเป็นระบบฝัง การเดินท่อน้ำและท่อร้อยสายไฟในส่วน ที่จะต้องฝังอยู่ภายในผนัง ก็จะต้องทำในช่วงนี้ การวางท่อต่างๆ จะเริ่มทำหลังจาก ที่ก่อผนังด้วยอิฐแล้ว โดย จะทำ การเจียนผนังอิฐ ให้เป็นร่องลึกลงไป เป็นแนวตาม ที่กำหนดเพื่อจะได้วางท่อให้ฝังลงไปในผนังได้ก่อนที่ จะทำ การฉาบแต่งผนัง ฉะนั้นจุดที่ควรระวังในขั้นตอนนี้ก็คือ ก่อนการฉาบแต่งผนังจะต้องแน่ใจว่าการวาง ท่อต่าง ๆ ทำไว้อย่างถูกต้องเรียบร้อย การวางตำแหน่งของสวิตซ์ไฟ ปลั๊กไฟ ก๊อกน้ำ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สัมพันธ์กับ การเดินท่อ ภายในผนังเป็นไปตามที่กำหนดและสอดคล้องกับแนวท่อที่เดินไว้ หากจะ มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ก็ต้องรีบทำในขั้นตอนนี้ ก่อนที่จะทำ การฉาบแต่งผนัง
 

งานด้านสาธารณูปโภค


งานในส่วนนี้ ได้แก่ การวางท่อระบายน้ำและทำบ่อพักเพื่อระบายน้ำตามจุดต่าง ๆ ภายในอาคาร การเดินสายไฟ และท่อร้อยสายไฟ สำหรับการเดินสายไฟ ระบบฝัง การเดินท่อน้ำประปา และ สายไฟ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ การทำพื้นและผนัง ถ้าการเดินท่อน้ำและสาย ไฟเป็น ระบบเดินลอย คือเดินอยู่บนพื้นและ ภายนอกผนัง จะเริ่มทำได้หลังจาก มีการปูแต่งผิวพื้น และ ฉาบแต่งผนัง เรียบร้อยแล้ว แต่ถ้าการเดินท่อน้ำและสายไฟ เป็นแบบฝัง ก็จะต้องทำก่อน การเทพื้น การปูแต่งผิวพื้น และฉาบแต่งผนัง โดยควรจะมีการ ตรวจสอบความเรียบร้อย และความถูกต้อง ในการวางตำแหน่งของท่อ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องเสียก่อน ดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว
 

งานด้านสุขาภิบาล


งานด้านสุขาภิบาล ได้แก่ การวางท่อระบายน้ำและทำบ่อพักเพื่อระบายน้ำลงสู่ท่อระบายน้ำ สาธารณะ การวางท่อ ระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งได้แก่ การติดตั้งถังบำบัดหรือการทำบ่อเกรอะและบ่อซึม ซึ่งงานในส่วนนี้ จะทำในช่วงไหน ก็ได้แล้วแต่กำลังคน และความสะดวก เนื่องงานเหล่านี้มักเป็นงานที่อยู่ภาย นอกตัวบ้าน แต่จะต้องทำหลังจากเสร็จงาน ด้านฐานราก เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย เนื่องจากความกระทบกระเทือน จากการทำฐานราก ส่วนในกรณีของบ้าน ที่มีเนื้อที่จำกัดเช่น ทาวเฮาส์ ซึ่งจำเป็นจะต้องติดตั้งถังบำ บัดหรือวางบ่อเกรอะและบ่อซึม อยู่ใต้พื้นห้องน้ำก็จะต้องทำก่อน การเทพื้นห้องน้ำ และในกรณีที่มีการวาง แนวท่อระบายน้ำ ไว้ใกล้กับ แนวรั้ว ก็ต้องทำหลังจาก การทำฐานราก ของรั้ว เสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันไม่ ให้ท่อระบายน้ำชำรุด จากการทำฐานรากของรั้ว
 

งานตกแต่ง

งานตกแต่งเป็นงานที่มีความหมายค่อนข้างกว้าง งานใดที่ให้ผลงานปรากฏแก่สายตาของผู้พบเห็น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อถึงความ สวยงามเรียบร้อย หรือโดดเด่นประทับใจร่วมอยู่ด้วย ก็อาจจัดอยู่ในส่วนของ งานตกแต่งได้ ซึ่งงานตกแต่ง ในที่นี้ส่วนใหญ่ มักจะ เป็นงานกึ่งก่อสร้าง กึ่งตกแต่งเสียมากกว่า งานหลักใน กลุ่มนี้ได้แก่ การบุฝ้าเพดาน การปูพื้นและบุผนัง การทาสี การติดตั้งสุขภัณฑ์ การติดตั้งดวงโคม ตลอดจนการติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ งานในกลุ่มนี้ มักจะทำใน ขั้นตอนท้าย ๆ หลังจากเสร็จสิ้นงานในขั้นตอนอื่น ๆ แล้ว การเรียงลำดับขั้นตอน ในส่วนของงานนี้ ไม่สามารถกำหนดตายตัวได้ งานบางขั้นตอนอาจจะทำก่อน ทำภายหลัง หรือทำควบคู่กัน ไปก็ได้ แล้วแต่ความพร้อม หรือความเหมาะสมของ กำลังคนและวัสดุช่วงเวลานั้น ๆ นอกจาก งานบางขั้นตอน ที่สัมพันธ์กัน ก็จะต้องมี ลำดับก่อนหลัง เช่น การบุฝ้าเพดานจะต้องทำหลัง จากการมุงหลังคารวมทั้ง การเดินระบบท่อน้ำ ท่อร้อยสายไฟและสายไฟต่าง ๆ ในส่วนที่อยู่เหนือ ฝ้าเพดาน เสร็จเรียบร้อยแล้ว การปูพื้นและบุผนัง จะต้องทำหลังจาก การเดินท่อและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในส่วนที่ฝัง อยู่ภายใต้พื้น พื้น และภายในผนัง เสร็จเรียบร้อยแล้ว การติดตั้งดวงโคมจะต้องทำหลังจากการบุฝ้าเพดานเสร็จเรียบร้อย แล้ว เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีงานตกแต่งเพิ่มเติม ในส่วนท้ายอีก ซึ่งอาจจะทำหรือไม่ทำก็ได้ และมักจะไม่รวมอยู่
ในขั้นตอนการปลูก สร้างบ้าน เช่น การติดตั้งลูกกรง เหล็กดัด การติดตั้งผ้าม่าน การจัดสวน ฯลฯ ซึ่งจะไม่กล่าวถึงในที่นี้ จากตัวอย่าง ที่ยกมาตั้งแต่ต้นจะสังเกตเห็นว่างานบางขั้นตอนที่ไม่เกี่ยวข้องกันนั้น การจัดลำดับขั้น ตอนและจังหวะเวลา ในการทำงาน อาจสามารถยึดหยุ่นได้โดยไม่ส่งผลเสียหายแต่ประการใด ในขณะที่งาน บางขั้นตอน ที่มีความสัมพันธ์กัน จะต้องมีการ จัดลำดับขั้นตอนและจังหวะเวลาในการทำให้เหมาะสม รวมทั้งการวางแผน การเตรียมการ และการประสานงานต่าง ๆ จะต้องกระทำ ในช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ผลงาน ที่ออกมามี ความถูกต้องเป็นไปตามที่ต้องการ เพราะความผิดพลาดบกพร่อง ในขั้นตอนหนึ่ง ขั้นตอนใดก็ตาม โดยเฉพาะขั้นตอนต้น ๆ ย่อมส่งผลเสียหายไปถึงขั้นตอนถัดไปด้วย ยิ่งถ้าปล่อยให้ผิดพลาดล่วงเลยไป การแก้ไขในภายหลังก็ยิ่งกระทำได้ลำบากยิ่งขึ้น จึงควรระมัดระวังในจุดนี้ด้วย

***********************


คอนกรีตงานก่อสร้างทั่วไป


คุณสมบัติ

คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบส่วนผสมตามค่ากำลังอัดที่อายุ 28 วัน และค่าการยุบตัวสำหรับงานเทคอนกรีตทั่วไป และงานเทคอนกรีตด้วยปั๊ม โดยส่วนผสมแปรผันตามค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ รวมทั้งมีการผสมคอนกรีตด้วยสารลดน้ำและหน่วงการก่อตัว  ตามมาตรฐาน ASTM C 494 ทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการทำงานได้ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงระยะเวลาการทำงานสำหรับงานคอนกรีตที่นานขึ้น

ขั้นตอนการทำงาน

คอนกรีตชนิดนี้เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป และงานเทคอนกรีตที่ต้องใช้คอนกรีตปั๊ม อาทิเช่น อาคารพาณิชย์ บ้านเดี่ยว ทาวเฮาส์ ตึกสูง งานถนน พื้นโรงงาน และลานจอดรถ ที่มีค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์และค่าการพัฒนากำลังที่เหมาะสมต่อการก่อ สร้างโครงสร้างทั่วไป ค่ากำลังอัดของคอนกรีตมีให้เลือกตั้งแต่ 180-450 กก./ตร.ซม. ที่อายุ 28 วัน  สำหรับค่าความยุบตัวขนาดต่าง ๆ ตามที่ลูกค้าต้องการ รวมไปถึงคอนกรีตหยาบที่ไม่รับรองค่ากำลังอัด

ข้อแนะนำ

1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง 2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูง เพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่น อย่างเหมาะสม  เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกัน ไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว 3. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ ลดปัญหาในเรื่องของการแตกร้าวของคอนกรีตเนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์

 

คอนกรีตกันซึม

คุณสมบัติ

คอนกรีตชนิดนี้ เป็นคอนกรีตที่ถูกออกแบบมาให้มีความทึบน้ำ มากกว่าคอนกรีตปกติ โดยมีค่าการซึมผ่านของน้ำในระดับต่ำ ตามมาตรฐาน DIN 1048 ส่วนผสมคอนกรีตประเภทนี้มีการผสมน้ำยาประเภทกันซึม ลดปริมาณน้ำที่ใช้ในส่วนผสม และหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494

ขั้นตอนการทำงาน

คอนกรีตประเภทนี้ เหมาะสำหรับงานที่ต้องการป้องกันการซึมผ่านของน้ำ มากกว่าคอนกรีตปกติ เช่นบ่อเก็บน้ำ สระน้ำ อาคารใต้ดิน พื้นดาดฟ้าของอาคาร เป็นต้น มีค่ากำลังอัดตั้งแต่ 210-450 กก./ตร.ซม. ที่อายุ 28 วัน และค่าความยุบตัวของคอนกรีตขนาดต่างๆ ตามความต้องการของลูกค้า

ข้อแนะนำ

โครงสร้างคอนกรีตที่ต้องการความทึบน้ำ มากกว่าคอนกรีตปกติ นอกจากจะใช้คอนกรีตที่ถูกออกแบบสำหรับการต้านทานการซึมผ่านของน้ำแล้ว ยังขึ้นอยู่กับวิธีการก่อสร้างที่เหมาะสม เช่น ไม่ทำการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างานก่อสร้าง การทำคอนกรีตให้แน่นเพื่อให้คอนกรีตมีความสม่ำเสมอ เป็นเนื้อเดียวกัน และการบ่มคอนกรีตเพื่อให้คอนกรีตมีการพัฒนากำลังอัดได้อย่างสมบูรณ์ ลดความพรุนภายในเนื้อคอนกรีต

 

คอนกรีต Topping

คุณสมบัติ

คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบส่วนผสมตามค่ากำลังอัดที่อายุ 28 วัน และ ค่าการยุบตัวสำหรับงานเทคอนกรีตทั่วไป และงานเทคอนกรีตด้วยปั๊ม โดยส่วนผสมแปรผันตามค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ รวมทั้งมีการผสมคอนกรีตด้วยสารลดน้ำและหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494 ทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการทำงานที่เพิ่มขึ้น รวมถึงระยะเวลาการทำงาน สำหรับงานคอนกรีตที่นานขึ้น คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบให้แตกต่างจากคอนกรีตปกติ โดยออกแบบให้ส่วนผสมมีส่วนละเอียดมากกว่าคอนกรีตปกติ เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องหินโผล่ที่ผิวหน้าคอนกรีต ในขั้นตอนของการขัดผิวหน้าคอนกรีต หรือออกแบบส่วนผสมโดยใช้หินขนาด 3/8 นิ้ว

ขั้นตอนการทำงาน

คอนกรีตประเภทนี้ถูกออกแบบส่วนผสมมา เพื่อใช้กับงานเท Topping โดยรับรองค่ากำลังอัดตามที่ลูกค้ากำหนดที่อายุ 28 วัน สำหรับค่าการยุบตัวสำหรับงานทั่วไป และงานคอนกรีตที่เทด้วยปั๊ม

ข้อแนะนำ

1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้า งาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง เป็นต้น 2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการจี้เขย่าคอนกรีตอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว 3. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ลดปัญหา ในเรื่องของการแตกร้าวของคอนกรีตเนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์

 

มอร์ตาร์ คอนกรีต

คุณสมบัติ

มอร์ตาร์ เป็นส่วนผสมระหว่างปูนซีเมนต์ ทราย น้ำ และน้ำยาผสมคอนกรีต ประเภทลดปริมาณน้ำที่ใช้ในส่วนผสม และหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494

ขั้นตอนการทำงาน

มอร์ตาร์ ถูกออกแบบเพื่อใช้สำหรับงานเทปรับระดับพื้นผิวคอนกรีต ที่ไม่ต้องการกำลังอัด หรือ เทหล่อเลี้ยงท่อก่อนการลำเลียงคอนกรีตโดยการใช้ปั๊ม ปัจจุบันมีสินค้าให้เลือกตามปริมาณซีเมนต์ในส่วนผสมตั้งแต่ 300 กก. จนถึง 450 กก. ที่ค่าการยุบตัว 5.0-10.0 ซม.

ข้อแนะนำ

หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้างาน สำหรับมอร์ตาร์ที่นำไปใช้ในงานเทปรับระดับพื้นผิวคอนกรีต เพื่อป้องกันปัญหาการเกิดฝุ่นที่ผิวหน้า เมื่อมอร์ตาร์แข็งตัวแล้ว รวมทั้งการบ่มชื้นบริเวณผิวปรับระดับ เพื่อลดปัญหาในเรื่องของการแตกร้าว

 

คอนกรีตงานเข็มเจาะเล็ก

คุณสมบัติ

คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบส่วนผสมตามค่ากำลังอัดที่อายุ 28 วัน และค่าการยุบตัวสำหรับงานเทเข็มเจาะขนาดเล็ก โดยมีการผสมคอนกรีตด้วยสารลดน้ำและหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494 ทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการทำงานเพิ่มขึ้น ไม่เกิดการแยกตัวขณะเทคอนกรีต รวมถึงเพิ่มอายุการทำงานของคอนกรีตมากกว่า 3 ชั่วโมง เพื่อให้เหมาะสมกับงานเข็มเจาะขนาดเล็กเนื่องจากคอนกรีตประเภทนี้ มีระยะเวลาการแข็งตัวที่ช้ากว่าคอนกรีตปกติ ทำให้การพัฒนากำลังอัดในช่วงต้นของคอนกรีตประเภทนี้ต่ำกว่าคอนกรีตโดยทั่วไป

ขั้นตอนการทำงาน

คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบเพื่องานเทเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก โดยมีค่ากำลังอัดตั้งแต่ 210 – 400 กก./ตร.ซม. ที่ค่าการยุบตัว 7.5 - 12.5 ซม.

ข้อแนะนำ

1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้า งาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง เป็นต้น 2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่นอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว

 

คอนกรีตงานเข็มเจาะใหญ่

คุณสมบัติ

คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบส่วนผสมตามค่ากำลังอัดที่อายุ 28 วัน และค่าการยุบตัวสำหรับงานเทเข็มเจาะขนาดใหญ่ โดยมีการผสมคอนกรีตด้วยหน่วงการก่อตัว และลดปริมาณน้ำในส่วนผสม ตามมาตรฐาน ASTM C 494 ทำให้คอนกรีตมีความสามารถในการทำงานเพิ่มขึ้น ไม่เกิดการแยกตัวขณะเทคอนกรีต รวมถึงเพิ่มอายุการทำงานของคอนกรีตมากกว่า 4 ชั่วโมง 30 นาที เพื่อให้เหมาะสมกับงานเข็มเจาะขนาดใหญ่ เนื่องจากคอนกรีตประเภทนี้มีระยะเวลาการแข็งตัวที่ช้ากว่าคอนกรีตปกติ ทำให้การพัฒนากำลังอัดในช่วงต้นของคอนกรีตประเภทนี้ต่ำกว่าคอนกรีตโดยทั่วไป

ขั้นตอนการทำงาน

คอนกรีตสำหรับงานเข็มเจาะขนาดใหญ่ เนื้อคอนกรีตถูกออกแบบมาให้มีค่าความยุบตัวสูง และไม่แยกตัวขณะเทคอนกรีต นอกจากนี้ ยังออกแบบให้มีอายุการใช้งานที่นานกว่าคอนกรีตปกติ ซึ่งมั่นใจได้ว่าเสาเข็มเจาะใหญ่แต่ละต้นจะมีคุณภาพดีตั้งแต่เริ่มต้นจน กระทั่งจบงาน โดยมีค่ากำลังอัดตั้งแต่ 280– 400 กก./ตร.ซม. ที่ค่าการยุบตัว 17.5-22.5 ซม.

ข้อแนะนำ

1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้า งาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง เป็นต้น 2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่นอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว

 

คอนกรีตอัดแรง

คุณสมบัติ

คอนกรีตประเภทนี้ ได้ออกแบบให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการกำลังอัดในช่วงต้นสูง ในขณะที่ต้องคงคุณสมบัติที่ดีในด้านอื่น เช่น ค่าการยุบตัว ระยะเวลาการก่อตัว ส่วนผสมคอนกรีตประเภทนี้มีการผสม สารลดปริมาณน้ำที่ใช้ในส่วนผสมและหน่วงการก่อตัว หรือสารลดปริมาณน้ำอย่างมาก ตามมาตรฐาน ASTM C 494 ขึ้นอยู่กับค่ากำลังอัดและค่าการยุบตัวที่ต้องการ การพัฒนากำลังอัดของคอนกรีต จะแตกต่างจากคอนกรีตสำหรับงานโครงสร้างทั่วไป เนื่องจากคอนกรีตสำหรับงานคอนกรีตอัดแรง จำเป็นต้องมีการพัฒนากำลังอัดในช่วงอายุ 3-7 วัน ซึ่งสูงกว่าคอนกรีตปกติเพื่อให้เหมาะสมกับการก่อสร้าง

ขั้นตอนการทำงาน

คอนกรีตชนิดนี้เหมาะสมกับ งานคอนกรีตอัดแรงประเภท Post – tension ที่ต้องการกำลังอัดเพื่อการอัดแรงที่อายุ 3 วัน ที่ค่ากำลังอัด 240 280 และ 320 กก/ตร.ซม.  หรือ ที่อายุและค่ากำลังอัดตามที่ลูกค้ากำหนด สำหรับค่าความยุบตัวสำหรับงานเทคอนกรีตทั่วไป และงานเทคอนกรีตด้วยปั๊ม

ข้อแนะนำ

1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้า งาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง เป็นต้น 2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่นอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว 3. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีต เพื่อลดปัญหาในเรื่องของ การแตกร้าวของคอนกรีต เนื่องจากการหดตัว

 

คอนกรีตแข็งตัวเร็ว

คุณสมบัติ

เป็นคอนกรีตที่ถูกพัฒนามาเพื่องานที่ ต้องการกำลังอัด ที่กำหนดในช่วงระยะสั้น โดยส่วนผสมคอนกรีตประเภทนี้จะใช้น้ำยาผสมคอนกรีตประเภทลดน้ำอย่างมาก ตามมาตรฐาน ASTM C 494 คอนกรีตประเภทนี้จะมีระยะเวลาการแข็งตัวที่เร็วกว่าคอนกรีตปกติ ทำให้คอนกรีตสามารถพัฒนากำลังอัดในช่วงต้นได้ดี

ขั้นตอนการทำงาน

คอนกรีตประเภทนี้ใช้สำหรับงานซ่อมแซม ผิวถนน ที่ต้องการกำลังอัดสูงในช่วงต้น งานที่ต้องการเปิดหน้างานเร็ว งานหล่อชิ้นส่วนสำเร็จรูป เป็นต้น โดยทั่วไปคอนกรีตชนิดนี้จะถูกออกแบบมาให้สามารถพัฒนากำลังอัดได้ตามค่าที่ ต้องการภายในระเวลา 8-24 ชั่วโมง

ข้อแนะนำ

1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้า งาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง เป็นต้น 2. หลีกเลี่ยงการเทคอนกรีต ในที่อากาศร้อนจัด เพื่อป้องกันการสูญเสียค่าการยุบตัวของคอนกรีตอย่างรวดเร็ว และการแตกร้าวเนื่องจากการสูญเสียน้ำในเนื้อคอนกรีต 3. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่นอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว 4. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ลดปัญหา ในเรื่องของการแตกร้าวของคอนกรีตเนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์

 

คอนกรีตต้านทานซัลเฟต

คุณสมบัติ

คอนกรีตต้านทานซัลเฟตพัฒนาขึ้นเพื่อ ใช้สำหรับ งานโครงสร้างที่ต้องทนทานต่อซัลเฟตโดยเฉพาะ โดยอาศัยหลักสำคัญ 2 ประการคือุ + ออกแบบโดย ใช้ค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์  ต่ำกว่า 0.50 ตามมาตรฐาน ACI 201.2R Durable Concrete เพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีการซึมผ่านของน้ำและสารเคมีต่ำ ุ + เลือกใช้สัดส่วนผสมคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการเกิด secondary enttringite และแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ อันเป็นผลให้เกิด แมกนีเซียมซิลิเกตไฮเดรท ซึ่งจะทำให้คอนกรีตแตกร้าวเสียหายได้นอกเหนือจากนี้ ยังเลือกใช้วัสดุผสมคอนกรีต ที่ถูกต้องตามมาตรฐาน ASTM C33 กำหนดเพื่อให้ได้คอนกรีตที่มีคุณภาพดี ตามที่ได้ออกแบบไว้

ขั้นตอนการทำงาน

คอนกรีตชนิดนี้ ถูกออกแบบมาให้เหมาะสำหรับโครงสร้างที่สัมผัสกับสารละลายซัลเฟต เช่น งานบ่อบำบัดน้ำเสีย โครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับดินเค็ม ค่ากำลังอัดของคอนกรีตมีให้เลือกตั้งแต่ 180-450 กก./ตร.ซม. ที่อายุ 28 วัน สำหรับค่าความยุบตัวสำหรับงานเทคอนกรีตทั่วไป 5.0-10.0 ซม. และสำหรับงานเทคอนกรีตด้วยปั๊ม 7.5-12.5 ซม.

ข้อแนะนำ

1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้า งาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง ปัญหาในเรื่องความสามารถในการต้านทานซัลเฟตของคอนกรีตลดลง เนื่องจากคอนกรีตมีความทึบน้ำน้อยลง มีความพรุนเพิ่มขึ้น 2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่นอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว ทำให้คอนกรีตมีความทึบน้ำมากขึ้น ส่งผลให้การต้านทานซัลเฟตเพิ่มขึ้น 3. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ลดปัญหาในเรื่องของ การแตกร้าวของคอนกรีต เนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้คอนกรีตมีความทึบน้ำมากขึ้น ส่งผลให้การต้านทานซัลเฟตเพิ่มขึ้น

 

คอนกรีตทนน้ำเค็ม

คุณสมบัติ

ในน้ำเค็มจะมีสารประกอบหลักที่สำคัญ คือคลอไรด์ โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยโซเดียมคลอไรด์ แมกนีเซียมคลอไรด์ แคลเซียมคลอไรด์ ดังนั้น ในการออกแบบคอนกรีตทนน้ำเค็ม จึงอาศัยหลักการป้องกันการซึมผ่านของสารครอไรด์ และการจับยึด ไม่ให้คลอไรด์เข้าไปทำปฏิกิริยากับเหล็กเสริมจนเป็นสนิม โดยทั่วไป สามารถแบ่งสภาพแวดล้อม การสัมผัสกับบรรยากาศทะเล ของโครงสร้างคอนกรีตได้สี่สภาวะดังนี้ +  สภาวะที่ 1 โครงสร้างสัมผัสกับไอทะเล +  สภาวะที่ 2 โครงสร้างสัมผัสกับคลื่นชายฝั่ง +  สภาวะที่ 3 โครงสร้างอยู่ในช่วงน้ำขึ้นน้ำลง +  สภาวะที่ 4 โครงสร้างจมอยู่ใต้น้ำทะเล จากสี่สภาวะนี้ สภาวะที่ 2 และ 3 เป็นสภาวะที่คอนกรีตจะเกิดความเสียหายรุนแรงที่สุด ซึ่งลักษณะการเสียหายของคอนกรีตที่สัมผัสกับน้ำเค็ม จะเป็นการเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องจากการเป็นสนิมของเหล็กเสริม และเมื่อเหล็กเสริมเป็นสนิม จะเกิดการขยายตัว และทำให้คอนกรีตแตกร้าวเสียหาย ดังนั้นในการออกแบบ จึงต้องกำหนดให้มีค่าอัตราส่วนน้ำต่อซีเมนต์ที่ต่ำกว่า 0.45 และเลือกใช้วัสดุผสมและสัดส่วนผสมที่เหมาะสมเพื่อให้มั่นใจว่า คอนกรีตทนน้ำเค็มมีคุณภาพดีตามที่ได้ออกแบบ นอกจากนี้ ระยะหุ้มเหล็กเสริมสำหรับงานคอนกรีตโครงสร้าง ที่อยู่ในสภาวะดังกล่าวควรจะไม่น้อยกว่า 7 ซม. ตามข้อกำหนดสำหรับงานออกแบบของวิศวกรรมสถานแห่งชาติ เพื่อให้แน่ใจได้ว่า โครงสร้างคอนกรีตที่ทำการก่อสร้าง จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

ขั้นตอนการทำงาน

คอนกรีตชนิดนี้ ถูกออกแบบมาให้เหมาะสำหรับโครงสร้างที่สัมผัสกับน้ำทะเล หรือ โครงสร้างที่อยู่บริเวณชายฝั่งทะเล ค่ากำลังอัดของคอนกรีตมีให้เลือกตั้งแต่ 180-450 กก./ตร.ซม. ที่อายุ 28 วัน สำหรับค่าความยุบตัวสำหรับงานเทคอนกรีตทั่วไป 5.0-10.0 ซม. และสำหรับงานเทคอนกรีตด้วยปั๊ม 7.5-12.5 ซม.

ข้อแนะนำ

1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้า งาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง ปัญหาในเรื่องความสามารถในการต้านทานคลอไรด์ของคอนกรีตลดลง เนื่องจากคอนกรีตมีความทึบน้ำน้อยลง มีความพรุนเพิ่มขึ้น 2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการทำคอนกรีตให้แน่นอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว ทำให้คอนกรีตมีความทึบน้ำมากขึ้น ส่งผลให้การต้านทานคลอไรด์เพิ่มขึ้น 3. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ลดปัญหาในเรื่องของ การแตกร้าวของคอนกรีต เนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้คอนกรีตมีความทึบน้ำมากขึ้น ส่งผลให้การต้านทานคลอไรด์เพิ่มขึ้น

คอนกรีตห้องเย็น

คุณสมบัติ

คอนกรีตประเภทนี้ ถูกออกแบบสำหรับ โครงสร้างที่ต้องสัมผัสกับอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง และมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างฉับพลันอยู่สม่ำเสมอ โดยการเพิ่มปริมาณฟองอากาศในเนื้อคอนกรีต เพื่อรองรับการขยายตัวของน้ำในเนื้อคอนกรีต เนื่องจากน้ำมีการเปลี่ยนแปลงปริมาตร เมื่อน้ำมีการเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง ส่วนผสมของคอนกรีตประเภทนี้มีการผสมน้ำยากักกระจายฟองอากาศ ตามมาตรฐาน ASTM C 260 เพื่อเพิ่มฟองอากาศภายในเนื้อคอนกรีต และสารลดปริมาณน้ำและหน่วงการก่อตัว ตามมาตรฐาน ASTM C 494 เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานได้ รวมถึงระยะเวลาการทำงานสำหรับงานคอนกรีตที่นานขึ้น

ขั้นตอนการทำงาน

คอนกรีตประเภทนี้เหมาะสำหรับงาน เช่น ห้องแช่แข็ง ห้องเย็น สำหรับค่ากำลังอัดและค่าการยุบตัวขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า

ข้อแนะนำ

1. หลีกเลี่ยงการผสมน้ำเพิ่มที่หน้า งาน เพราะจะทำให้ส่วนผสมคอนกรีตเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลให้คอนกรีตเกิดการแยกตัว ขณะเทคอนกรีต เกิดปัญหาคอนกรีตเป็นฝุ่นที่ผิวหน้า เกิดปัญหาค่ากำลังอัดต่ำกว่าค่าการรับรอง เป็นต้น 2. ในระหว่างการเทคอนกรีต ควรมีการลำเลียงคอนกรีตอย่างเหมาะสม ไม่ปล่อยคอนกรีตจากที่สูงเพื่อป้องกันการแยกตัวของคอนกรีต รวมทั้งการจี้เขย่าคอนกรีตอย่างเหมาะสม เพื่อให้คอนกรีตเข้าแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ เป็นเนื้อเดียวกันไม่เกิดรูพรุนเมื่อคอนกรีตแข็งตัวแล้ว 3. การเทคอนกรีตประเภทนี้ ควรหลีกเลี่ยงการเทในที่ปิด เพราะคอนกรีตประเภทนี้ ให้ความร้อนในการทำปฏิกิริยาสูง เนื่องจากปริมาณปูนซีเมนต์ที่ใช้ในส่วนผสมคอนกรีต มีปริมาณสูงกว่าส่วนผสมของคอนกรีตปกติ เพื่อชดเชยในเรื่องของกำลังอัดที่สูญเสียไปเนื่องจากฟองอากาศในเนื้อคอนกรีต ที่เพิ่มมากขึ้น 4. หลังจากที่คอนกรีตแข็งตัวแล้ว ควรมีการบ่มคอนกรีตที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำของคอนกรีต ส่งผลให้ลดปัญหา ในเรื่องของการแตกร้าว ของคอนกรีตเนื่องจากการหดตัว และทำให้การพัฒนากำลังอัดคอนกรีตเกิดได้อย่างสมบูรณ์

 

ข้อมูลจาก ศูนย์วิชาการคอนกรีตซีแพค  http://www.cpacacademy.com/

****************

เกร็ด ความรู้เกี่ยวกับ การคุมงานก่อสร้าง อาคาร คอนกรีต เสริม เหล็ก

งานฐานราก เนื่องจากฐานราก เป็นส่วนสำคัญที่สุด ของโครงสร้างอาคาร หากฐานรากชำรุดจนไม่สามารถจะรับน้ำหนักได้ตามที่คำนวณไว้ ความวิบัติของโครงสร้างส่วนอื่นๆ ก็จะเกิดตามมาอย่างรุนแรงและการซ่อมแซมฐานรากก็ทำได้ยาก และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูงมาก ฉะนั้นผู้เกี่ยวข้องควรดูแลและควบคุมเป็นพิเศษเกี่ยวกับงานฐานราก

โดยทั่วไป ฐานรากที่ใช้กับอาคารทั่วไปในประเทศอาจแบ่งออกเป็นสองชนิดใหญ่ๆ คือ ชนิดใช้เสาเข็ม และ ชนิดวางบนดินแน่น สำหรับเสาเข็มมีทั้งเสาเข็มไม้ เสาเข็มเหล็ก เสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็ก เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง และเสาเข็มเจาะหล่อในที่ ซึ่งมีอยู่มากมายหลายชนิดหลายขนาดหลายลักษณะ รูปร่างของหน้าต้อมีตั้งแต่ สีเหลี่ยม , หกเหลี่ยม , วงกลม , ตัว Y , ตัว H เป็นต้น ผู้เกี่ยวข้องจะต้องตรวจสอบรูปร่างและขนาดแล้ว จะต้องตรวจสอบคุณสมบัติอื่นๆ อีก อาทิ เช่น ขนาดความหนา , เสาเข็มคดหรือเปล่า , อายุของเสาเข็ม , กำลังอัดของคอนกรีต , ลักษณะทั่วไปของเนื้อคอนกรีต

แบบหล่อคอนกรีต งานคอนกรีตเสริมเหล็กหมายรวมตั้งแต่งานแบบหล่อ การวางเหล็กเสริม การเทและการบ่มคอนกรีต ตลอดจนการถอดจนการถอดแบบหล่อและค้ำยัน เพื่อที่จะได้งานที่ดี ผู้เกี่ยวข้องจะต้องพิถีพิถันทุกขั้นตอน ดูเผินๆคล้ายกับว่างานคอนกรีตเป็นงานง่าย ไม่ต้องใช้เทดนิคอะไรมาก ใครๆก็ทำได้ แต่ความจริง การที่จะให้ได้คอนกรีตที่ดีจะต้องใช้วิทยาการประกอบกับประสบการณ์ทางด้านงานสนามอย่างมาก โดยเฉพาะวิชาการด้านคอนกรีตวิทยา ยังต้องมีการค้นคว้าเพิ่มเติมอีกมาก คอนกรีตที่ดีในที่นี้ หมายความว่า ต้องมีความข้นเหลวพอดีที่จะเทในแบบและสามารถไหลเข้าเต็มช่องระหว่างเหล็กเสริมได้สะดวก และเมื่อแข็งตัวแล้วต้องมีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของผู้ออกแบบทุกประการ

1.แบบหล่อทั่วไป แบบหล่อคอนกรีตมีหลายกรีตมีหลายชนิด ชนิดประกอบกับที่ ชนิดที่ประกอบสำเร็จ หรือชนิดที่เคลื่อนที่ตัวขณะเท วัสดุที่ใช้ก้มีต่างๆกัน มักจะใช้โครงเหล็กบุด้วยแผ่นเหล็ก สำหรับชนิดที่ประกอบสำเร็จจากดรงงานมักจะใช้วัสดุที่ทนทานและเบา หรือแผ่นเหล็กบุด้วยไม้อัดหรือไม้อัดล้วนๆ แล้วแต่บริษัทผู้ผลิตจะเห็นสมควร แบบหล่อสองชนิดนี้ไม่น่าเป็นห่วง แบบหล่อที่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ คือ แบบหล่อธรรมดา ซึ่ง ประกอบขึ้นเอง ณ. สถานที่ก่อสร้างเพื่อใช้สำหรับงานนั้นโดยเฉพาะวัสดุที่จะนำไปใช้จะต้องได้รับการอนุมัติเสียก่อน เพราะมีมากมายหลายชนิด

2.แบบหล่อสำเร็จรูป มีหลายอย่าง มีชื่อเรียกต่างๆกันตามลักษณะ ของการใช้งาน สิ่งที่ที่ผู้เกี่ยวข้องจะต้องปฎิบัติ คือ จะต้องตรวจสภาพของแบบหล่อและค้ำยันให้อยู่ในสภาพดีเสมอ โดยเฉพาะแผ่นวัสดุผิว นอกจากนี้ต้องตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของระบบให้ดี โดยจะต้องศึกษาจากคำแนะนำของผู้ผลิต หรือตามแบบที่ได้รับอนุมัติแล้ว

3.แบบหล่อชนิดเลื่อนขณะเท   อาคารที่มีผนัง ค.ส.ล. สูง เช่น ไซโล หรือ โรงแรม ที่ใช้ผนัง ค.ส.ล. กั้นระหว่างห้องหรือ ผนังห้องลิฟท์ สูงๆ มักใช้แบบหล่อคอนกรีตชนิดเลื่อนขณะเทเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการก่อสร้างเนื่องจากแบบหล่อชนิดนี้มีองค์ประกอบมากมายนับตั้งแต่ตัวแบบหล่อเอง ซึ่งปกติจะเป็นแผ่นเหล็กมีโครงพิเศษโดยเฉพาะระบบแม่แรงโฮดรอลิค ซึ่งจะทำหน้าที่เลื่อนแบบหล่อขึ้นไปในขณะเทคอนกรีตตลอดจนระบบการตรวจสอบระดับแบบหล่อ ผู้เกี่ยวข้องจะต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ สิ่งที่ควรจะระมัดระวัง คือ แบบหล่อจะต้องอยู่ในสภาพดีไม่บุบเบี้ยวหรือชำรุด เพราะการผิดรูปเพียงเล็กน้อยจะทำให้การเคลื่อนตัวของแบบหล่อไม่สม่ำเสมอ หรืออาจครูดเอาคอนกรีตติดขึ้นไปด้วย ทำให้ผิวคอนกรีตไม่เรียบ

เหล็กเสริมคอนกรีต ปัจจุบันการผลิตเหล็กเสริมคอนกรีตจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทุกประการ ฉะนั้นปัญหาเรื่องคุณภาพของวัสดุจึงไม่คอยมี แต่เนื่องจากเหล็กในมาตรฐานดังกล่าวมีหลายประเภท หลายขนาด และหลายระดับ โดยเฉพาะปัจจุบันมีมาตรฐานเหล็กรีดซ้ำ และเหล็กกำลังต่ำที่ห้ามใช้กับงานคอนกรีตเสริมเหล็กเพิ่มขึ้น ผู้เกี่ยวข้องจึงมีหน้าที่ตรวจสอบว่าเหล็กที่นำมาใช้นั้นต้องมีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดไว้ในแบบ

งานคอนกรีต  คอนกรีตที่มีคุณภาพดี หมายถึง คอนกรีตที่มีส่วนผสมดีๆสามารถนำไปเทลงแบบ และใช้เครื่องเขย่าทำให้แน่นได้ง่าย  และเมื่อแข็งตัวแล้ว มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดหรือดีกว่า การที่จะได้คอนกรีตดีจะต้องมีการเตรียมการที่ดีนับตั้งแต่ก่อนเทในระหว่างเท และ ภายหลังจากเทคอนกรีตแล้ว

**************************************

ได้ข้อความมาจากหนังสือ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เกร็ดความรู้เกี่ยวกับการควมคุมงานก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดย คุณ อรุณ ชัยเสรี